มศว ค้นพบวิธีดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นแผลเรื้อรังที่เท้าได้สำเร็จครั้งแรกของโลก โดยผู้ป่วยไม่ต้องสูญเสียนิ้วเท้า-ขา เผยประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องตัดนิ้วเท้า ตัดเท้า ตัดขาเกือบ 40,000 คนต่อปี
| ||
สำหรับ จุดเด่นของการให้ยา IMMUNOKINE หรือ WF 10 ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นแผลเรื้อรัง เมื่อให้ยาผู้ป่วยไปสู่เนื้อเยื้อตัวยาจะแตกตัวเป็นออกซิเจน ซึ่งออกซิเจนจะไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาวที่อยู่บริเวณบาดแผล เริ่มเข็งแรงขึ้น เมื่อเม็ดเลือดขาวบริเวณแผลแข็งแรงขึ้น มันก็เก็บกินเชื้อโรคและเนื้อที่ตาย จึงทำให้แผลเริ่มหายอาการอักเสบติดเชื้อมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ตัวยาดังกล่าวยังไปกระตุ้นเซลล์ที่สร้างหลอดเลือดและกระตุ้นเซลล์ที่สร้าง เนื้อเยื่อ แผลที่ลึกๆ ก็จะตื้นขึ้น มีเนื้อแดงงอกขึ้นมาใหม่แผลจะค่อยๆ หายภายใน 2 เดือน
ผศ.นพ.ณรงค์ชัย กล่าวอีกว่า แม้ยา IMMUNOKINE หรือ WF 10 จะเป็นยานำเข้ามาจากประเทศเยอรมนี ซึ่งหลายคนอาจจะกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย แต่เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วยต้องเดินทางไปทำแผลทุกวัน เป็นเดือนเป็นปี ล้วนแล้วแต่เป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น บางคนต้องหยุดงาน ญาติพี่น้องต้องพาไปรักษา และยังต้องซื้อยาชนิดอื่นๆ มารักษา และถ้าอาการไม่ดีขึ้น แพทย์ก็จะตัดสินใจตัดอวัยวะส่วนที่เป็นแผลออก ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไข้กลัวและมีความทุกข์มาก แต่ถ้าใช้วิธีรักษาโดยการให้ยา IMMUNOKINE หรือ WF 10 ผู้ป่วยจะใช้จ่าย 20,000 บาทต่อ 1 คอร์ส ส่วนผลข้างเคียงเมื่อใช้ยา IMMUNOKINE หรือ WF 10 อาจจะมีภาวะเลือดจางบ้างเล็กน้อย
งาน วิจัยชิ้นถือเป็นงานวิจัยชิ้นแรกของโลก เพราะยังไม่มีการทำวิจัยโดยนำยาชนิดนี้มารักษาแผลเรื้อรังที่เกิดจากโรคเบา หวาน โดยปกติยา IMMUNOKINE หรือ WF 10 จะนำไปใช้ในผู้ป่วยที่เกิดอาการอักเสบเรื้อรังในผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรค มะเร็งและทำการฉายแสง ในปัจจุบันมีการนำตัวยา IMMUNOKINE หรือ WF 10 ไปใช้ร่วมกับเคมีบำบัดในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งตับอ่อน และมะเร็งต่อมลูกหมาก
ส่วนผู้ป่วยโรค เบาหวานท่านใดสนใจ และต้องการรักษาด้วยวิธีการใช้ยา IMMUNOKINE หรือ WF 10 สามารถติดต่อมาได้ที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โทร.037-395-085-6 ต่อ 11215 ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 4 ล้านคน ผู้ป่วยจำนวนมากรักษาแผลเป็นปี ๆ ยังไม่หายสุดท้ายต้องตัดนิ้วเท้า นิ้วมือและถ้าแผลลามไปเรื่อยๆ ก็ต้องตัดไปเรื่อยๆ ในเมืองไทยปีหนึ่งๆ มีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องตัดนิ้วเท้า ตัดเท้า ตัดขาเกือบ 40,000 คน
ที่มา : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000078278
This comment has been removed by the author.
ReplyDeleteโทรไปติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ReplyDelete- อ.นพ.ณรงค์ชัย จะทำการตรวจ-รักษาเอง ทุกวันจันทร์กับวันพุธ วันละ 20 คิว
- อาจารย์ลงตรวจ 09:00 ศูนย์เปิดรับคิวตั้งแต่ 6 โมงเช้า
ปัจจุบันคนไข้ที่มารับการรักษาจะเป็นประเภทมีแผลแล้ว