Friday, November 26, 2010

สุดยอดการแก้โจทย์ฟิสิกส์ระดับโลก

[cr/via Dherapol >> Facebook group "Intania 66"]

ข้อสอบฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัย และคำตอบของนักศึกษาคนหนึ่ง
โจทย์ข้อหนึ่งในข้อสอบวิชาฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนมีดังนึ้

"จงอธิบายว่าท่านจะใช้บารอมิเตอร์วัดความสูงของตึกระฟ้าได้อย่างไร"

รู้จักกันนะครับ ว่าบาร์รอมิเตอร์นี่ก็คือเครื่องมือวัดความกดอากาศนั่นเอง
(อธิบายเพิ่มเติมก็คงต้องบอกว่า อากาศนั้นมันมีน้ำหนักหรือมีแรงกดนั่นเอง
และแรงกดของอากาศนั้นเมื่ออยู่ในระดับความสูงที่เปลี่ยนไป ความกดอากาศก็เปลี่ยนไปด้วย)

นักศึกษาคนหนึ่งเขียนคำตอบลงไปว่า

"เอาเชือกยาวๆ ผูกกับบารอมิเตอร์แล้วหย่อนลงมาจากยอดตึก แล้วก็เอาความยาวเชือกบวกความสูงบารอมิเตอร์ก็จะได้ความสูงของตึก"
.
.
.
.

ฟังดูเป็นอย่างไรครับคำตอบนี้ ผมฟังครั้งแรกผมยังอมยิ้มเลยครับ
แต่อาจารย์ที่ตรวจข้อสอบไม่นึกขันอย่างผมด้วย
อาจารย์ตัดสินให้นักศึกษาคนนั้นสอบตก
นักศึกษาผู้นั้นยืนยันต่ออาจารย์ที่ปรึกษาว่า
คำตอบของเขาควรจะถูกต้องอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง
และคำตอบของเขาก็สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์
ทางมหาวิทยาลัยจึงตั้งกรรมการชุดหนึ่งมาตัดสินเรื่องนี้
และในที่สุดคณะกรรมการก็มีความเห็นตรงกันว่า
คำตอบนั้นถูกต้องอย่างแน่นอน
แต่เป็นคำตอบที่ไม่แสดงถึงความรู้ความสามารถทางฟิสิกส์ ดังนั้น
เพื่อเป็นการแก้ข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น
ทางคณะกรรมการจึงให้เรียกนักศึกษาคนนั้นมา
แล้วให้สอบข้อสอบข้อนั้นอีกครั้งหนึ่งต่อหน้า โดยให้เวลาเพียง 6 นาที
เท่ากับเวลาในการสอบข้อสอบเดิม
เพื่อหาคำตอบที่แสดงให้เห็นถึงความรู้ทางด้านฟิสิกส์

หลังจากผ่านไป 3 นาที นักศึกษาคนนั้นก็ยังนั่งนิ่งอยู่
กรรมการจึงเตือนว่า เวลาผ่านไปครึ่งหนึ่งแล้วจะไม่ตอบหรืออย่างไร
นักศึกษาหัวรั้นจึงตอบว่า เขามีคำตอบมากมายที่เกี่ยวกับฟิสิกส์
แต่ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะใช้คำตอบไหนดี
และเมื่อได้รับคำเตือนอีกครั้ง
นักศึกษาจึงเขียนคำตอบลงไปดังนี้

ให้เอาบารอมิเตอร์ขึ้นไปบนดาดฟ้าตึกและทิ้งลงมา จับเวลาจนถึงพื้น, ความสูงของตึกหาได้จากสูตร H=0.5g*t กำลัง 2
หรือถ้าแดดแรงพอ
ให้วัดความสูงบารอมิเตอร์แล้วก็วางบารอมิเตอร์ให้ตั้งฉากพื้น แล้ววัดความยาวของเงาบารอมอเตอร์
จากนั้นก็วัดความยาวของเงาตึก แล้วคิดด้วยตรีโกณมิติก็จะได้ความสูงของตึกโดยไม่ต้องขึ้นไปบนตึกด้วยซ้ำ

หรือถ้าเกิดอยากใช้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์มากกว่านี้
ก็เอาเชือกเส้นสั้นๆ มาผูกกะบารอมิเตอร์แล้วแกว่งเหมือนลูกตุ้ม ตอนแรกก็แกว่งระดับพื้นดิน แล้วก็ไปแกว่งอีกทีบนดาดฟ้า ความสูงของตึกจะหาได้จาก ความแตกต่างของคาบการแกว่ง
เนื่องจากความแตกต่างของแรงดึดดูดจากจุดศูนย์กลางของมวล
คำนวณจาก T = 2 พาย กำลัง 2 รากที่ 2 ของ l/g

ถ้าตึกมีบันไดหนีไฟก็ง่ายๆ
ก็เดินขึ้นไปเอาบารอมิเตอร์ทาบแล้วก็ทำเครื่องหมายไปเรื่อยๆ
จนถึงยอดตึกนับไว้คูณด้วยความสูงของบารอมิเตอร์ก็ได้ความสูงตึก

แต่ถ้าคุณเป็นคนที่น่าเบื่อและยึดถือตามแบบแผนจำเจซ้ำซาก
คุณก็เอาบารอมิเตอร์วัดความดันอากาศที่พื้นและที่ยอดตึก คำนวณความแตกต่างของความดันก็จะได้ความสูง

ส่วนวิธีสุดท้ายง่ายและตรงไปตรงมาก็คือ
ไปเคาะประตูห้องภารโรง [ไม่มีผ้าเหลืองนะ] แล้วบอกว่า อยากได้บารอมิเตอร์สวยๆ ใหม่เอี่ยมสักอันไหม ช่วยบอกความสูงของตึกให้ผมทีแล้วผมจะยกให้.
.
.
.
.

นักศึกษาคนนั้นคือ นีล โบร์
ผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีค.ศ.1922

Tuesday, November 9, 2010

Astrological auspices: glossary

 

ดิถี

หมายถึงขึ้นแรม เป็นการโคจรของดวงจันทร์สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์  หรือลำดับวันทางจันทรคติ นับตั้งแต่วัน  จันทร์ดับ ( อบาวสี)  เรียงกันเป็น ดิถี 1-30 ไปจนถึงดวงจันทร์ดับมืดอีกครั้งหนึ่ง  ใช้ข้าขึ้น 15 ค่ำ ข้างแรม 15 ค่ำ  เป็นปกติ ถ้ามีเกิน 15 ให้เอา  15 ลบเป็นข้างแรม

ดิถีมหาโชค

วันดี ดิถีมงคล 5 ประการ โบราณถือกันมาก

  1. ดิถีอำมฤตโชค วันไม่ตาย เป็นวันทิพย์ เป็นดิถีดีที่สุด เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานทั่วไปเกี่ยวกับความราบรื่นและสบาย ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม แต่ที่นิยมถือกันว่าข้างขึ้น ดีกว่าข้างแรม แต่อย่างไรก็ตามข้างแรมก็ใช้ได้ให้คุณเช่นกัน
  2. ดิถีมหาสิทธิโชค วันให้ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ เป็นดิถีที่ดีรองลงมา เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานสำคัญที่เป็นโครงการระยะสั้น ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม แต่ที่นิยมถือกันว่าข้างขึ้น ดีกว่าข้างแรม แต่อย่างไรก็ตามข้างแรมก็ใช้ได้ให้คุณเช่นกัน
  3. ดิถีสิทธิโชค วันให้ความสำเร็จ วันโชคดี วันให้ลาภผล  เป็นดิถีที่ดีรองลงมา เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานที่เป็นโครงการระยะยาว ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม แต่ที่นิยมถือกันว่าข้างขึ้น ดีกว่าข้างแรม แต่อย่างไรก็ตามข้างแรมก็ใช้ได้ให้คุณเช่นกัน
  4. ดิถีชัยโชค วันแห่งชัยชนะ วันทำให้เกิดความภูมิใจ  วันได้รับความสำเร็จจากการต่อสู้  เป็นดิถีที่ดีรองลงมา เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานที่ต้องต่อสู้แข่งขันหรือรบทับจับศึก ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม
  5. ดิถีราชาโชค วันได้รับชัยชนะด้วยบารมี  เป็นดิถีที่ดีรองลงมา เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานที่ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม

 

ดิถีเรียงหมอน
ดิถีเรียงหมอน หรือดิถีแมลงปอ นี้  ใช้ในการแต่งงานถือฤกษ์แต่งงาน ข้างขึ้น โดยส่วนมากจะใช้ 7, 10, 13 ค่ำ และถ้าเป็นข้างแรมใช้ 4 ,5, 10, 14 ค่ำ วันที่กำหนดไว้นี้ นับว่าเป็นวันเรียงหมอนได้ ดังนั้นการให้ฤกษ์แต่งงาน ควรหาฤกษ์ให้ตรงกับวันเรียงหมอนจึงจะดี

 

ดิถีไม่ดี

ดิถีที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับการมงคล คือ ทักทิน, ทรธึก, ยมขันธ์, อัคนิโรธ, ทินกาล, ทินศูร, กาลโชค, กาลสูร, กาลทัณฑ์, โลกาวินาศ, วินาศ, พิลา, มฤตยู, บอด, กาลทิน, ดิถีพิฆาต, ทักทินไฟ, ทินสูรย์, กาลกรรณี

  • ทักทิน วันไม่ดี วันที่ถูกติเตียนทักท้วง วันที่ท่านห้ามทำการมงคล วันที่ไม่เป็นคุณในการทำกิจการมงคล
  • ทรธึก วันที่ถูกกล่าวหาลบหลู่  เป็นวันอันตราย ห้ามทำการมงคลแม้จะตรงกับดิถีที่ดีอื่นๆ
  • ยมขันธ์ เป็นวันที่ให้ความเดือดร้อน ร้อนอกร้อนใจ เสมือนอยู่ท่ามกลางขุมไฟนรก วันทักทิน-ยมขันธ์ เป็นชื่อดิถีขึ้นแรม ถือว่าเป็นวันชั่วร้าย ห้ามมิให้ทำการมงคลใดๆ ทั้งสิ้น  เป็นวันที่ให้ความเดือดร้อน หาความเจริญมิได้
  • อัคนิโรธ เป็นวันที่ได้รับการขัดขวางด้วยไฟ ไฟหมายถึงของร้อน เผาผลาญ
  • ทินกาล เป็นวันแห่งความตาย วันแห่งความสูญเสีย
  • ทินศูร วันที่เกิดการต่อสู้ รบราฆ่าฟันกัน วันต่อสู้กันแบบเอาเป็นเอาตาย
  • กาลโชค วันอับปางล้มเหลว วันที่โชคดับ
  • กาลศูร วันที่จะถูกฆ่าให้ตาย
  • กาลทัณฑ์ วันที่ถูกลงโทษ
  • วินาสน์/วินาศ เป็นวันอันตรธาน วันถูกสังหาร วันล้มละลาย
  • พิลา วันแตกหัก ข้าวของเสียหาย
  • มฤตยู วันของพระยายมมาจับชีวิตมนุษย์ หมายถึงความตาย  วันสิ้นชีวิต
  • บอด วันที่มัวหมอง หรือมืด
  • กาลทิน วันที่ประกอบด้วยความทุกข์ วันที่หาความสุขมิได้  วันที่ห้ามทำมงคล

 

ดิถีมหาสูญ

เป็นวันดับ สำหรับดาวอาทิตย์ได้แก่วันที่ดาวอาทิตย์โคจรสุดราศี หรือวันยกราศี   และวันดับสำหรับดาวจันทร์ได้แก่วันสิ้นเดือนไทย  เป็นวันห้ามทำการมงคล ซึ่งโบราณถือกันมาก แม้จะตรงกับวันดีเท่าใดห้ามการมงคล

 

ดิถีอัคนิโรธ

อัคนิโรธหรือนางกาลกรรณีวิลัยวรรณ ก็คือชื่อของบุตรีของพญามัจจุราช มีผมแดง แต่งกายและทัดดอกไม้แดง เหาะล่องลอยมาในอากาศแล้วก็ตกลงสู่บ้านเรือนผู้คนในวันดิถีต่างๆ แสดงถึงอาเพศและเคราะห์หามยามร้ายต่างๆหากเราไปกระทำการมงคล ที่ต้องกับอัคนิโรธในวันนั้นๆ

ดิถี
(ขึ้น/แรม)
อัคนิโรธตกลงใน ห้าม
1 ค่ำ วัวควาย ซื้อขายวัวควาย เปิดคอกปศุสัตว์
2 ค่ำ ป่า ไปเที่ยวป่า เดินทางในป่าเขา ต้ดไม้
3 ค่ำ น้ำ เดินทางโดยทางน้ำ ทางเรือ เล่นน้ำ หรือขุดบ่อขุดสระ
4 ค่ำ ภูเขา ห้ามไปเที่ยวเขา ปีนเขา
5 ค่ำ ที่ทางเขตคาม แบ่งที่ทาง รังวัดที่ดิน
6 ค่ำ บ้านเรือน ทำการมงคลยกเสาเอก ปลูกบ้านเรือน ขึ้นบ้านใหม่ ย้ายเข้าบ้านใหม่ หรือทำการมงคลใดใดในบ้านเรือน
7 ค่ำ พระราชวัง ทำการอภิเษกพระราชา
8 ค่ำ ยวดยาน ซื้อขายยวดยาน หัดขับขี่ ออกรถใหม่ ฯลฯ
9 ค่ำ แผ่นดิน ขุดหลุมปลูกเรือน ขุดดิน ขุดบ่อ ถมดิน ฯลฯ
10 ค่ำ เรือ ลงเรือ ต่อเรือ เอาเรือลงจากคาน
11 ค่ำ พืชพรรณ ปลูกต้นไม้ เพาะชำ หว่าน ตอนต้นไม้ ฯลฯ
12 ค่ำ สตรี ซ่องเสพกับสตรี แต่งงาน ส่งตัวเจ้าสาว ฯลฯ
13 ค่ำ บุรุษ ซ่องเสพกับบุรษ แต่งงาน ส่งตัวเข้าเรือนหอ ฯลฯ
14 ค่ำ พัทธสีมา ทำการอุปสมบทและบรรพชา
15 ค่ำ เทวาอารักษ์ทั้งหลาย ทำการเซ่นสรวงบวงพลี ไหว้ครู บูชาเทพทั้งปวง

 

ดิถีอายกรรมพลาย

เรียกกันว่า วันภาณฤกษ์/วันดาวกำพลาย เป็นดิถีห้ามทำการมงคล  ดิถี ปฐม ทุติยะ ตติยะล้วนแต่ไม่ดีทั้งสิ้น ท่านว่าดิถีปฐม จะลำบากยุ่งยาก , ดิถีทุติยะ ร้ายกว่าอันแรกจะได้รับอันตราย , ดิถีตติยะ ร้ายแรงที่สุด

 

กระทิงวัน

เป็นวันที่ เลขของวันและเดือนตรงกัน วันกับดิถีตรงกัน , เดือนกับดิถีตรงกัน หรือ วัน ดิถี และเดือน ตรงกัน เป็นวันห้ามทำการมงคล โบราณว่าเป็นวันแรง เป็นวันแข็งไม่นิยมในการมงคล แต่เหมาะสำหรับการ ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง และคาถาอาคม  ยิ่งเลขของปีตรงกันก็ยิ่งแข็งมาก  อย่างเช่น  วันอังคาร (เลข 3)  เดือน 3  ปีขาล (เลข 3)

 

วันดับวันศูนย์

เป็นวันที่ถือกันมาก ห้ามประกอบการมงคลใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าประกอบการมงคลในวันดับศูนย์ การประกอบงานนั้นมักต้องประสบอันตราย

  1. วันสิ้นเดือนทางจันทรคติ
  2. วันอวมานโอน ตามปฏิทินโหราศาสตร์
  3. วันที่สุริยุปราคา หลีกเลี่ยงประกอบการมงคล ก่อนและหลังเกิดคราส 7 วัน ถือว่าแรงของคราสจะลบล้างความดีต่างๆลงหมด และดาวอาทิตย์กับดาวจันทร์ก็หมดกำลังลงด้วย
  4. วันที่มีพระอาทิตย์เป็น 2 ราศี ได้แก่ วันสงกรานต์ วันเนา วันที่พระอาทิตย์ย้ายเปลี่ยนราศี ตลอดจนกระทั่งดาวอื่นๆ เปลี่ยนย้ายราศี ดังนั้นวันดับศูนย์จึงห้ามประกอบการใดๆทั้งสิ้น
  • วันมหาสงกรานต์ วันที่ดวงตะวันจรดก้าวเข้าสู่ขอบราศีเมษธาตุไฟ  ดวงอาทิตย์เข้าสู่ต้นปี หรือต้นทวาร
  • วันเนา วันที่ดวงอาทิตย์อยู่ท่ามกลางเส้นแบ่งราศีมีน  และราศีเมษบนท้องฟ้า
  • วันดาวอาทิตย์ย้ายราศี  วันที่ดาวอาทิตย์โคจรอยู่คาบเส้นในระหว่างที่ข้ามราศี คือ โคจรจากราศีหนึ่งก้าวเข้าสู่ราศีหนึ่ง
  • วันดับ วันที่ดาวจันทร์เข้าสู่จุดดับ วันแรม 14 ค่ำบ้าง วันแรม 15 ค่ำบ้าง หรือวันอมาวสี
  • วันคราส วันที่มีสุริยะคราส หรือจันทร์คราส  เป็นวันที่ดาวอาทิตย์ ดาวจันทร์ และโลกอยู่ในเส้นตรงของแสงอาทิตย์ที่พุ่งตรงสู่โลก
  • วันอวมานโอน วันสุดท้ายของการโคจรของดวงจันทร์ ซึ่งจะต้องเพิ่มอีกจากอัตรา 692 ตามวิถีทางการคำนวณ  ทางสุริยาตรจึงมีคำว่า “โอน” คือเพิ่มเข้าอีก 1 วัน
  •  

    กาลโยค

    คือ กาลอันพึงมีตามกำหนดอันประกอบด้วยผล คือคราวดี คราวร้าย ที่สืบเนื่องมาตามลำดับ จาก วัน ยาม ราศี ดิถี ฤกษ์

    • ธงชัย วันที่สำเร็จในผลดี หรือความดีทั้งหลาย ชัยชนะ มิ่งขวัญของหมู่คณะ
    • อธิบดี วันที่เป็นใหญ่ เป็นวันใหญ่ที่จะเข้าทำการปกครอง ควบคุมดูแลองค์กรหรือหมู่คณะต่างๆ ประกอบด้วย โชคดี มีอำนาจในทางเจริญ ในกาลมงคล เช่น แต่งงาน
    • โลกาวินาส หมายถึง อันตราย ความสูญสิ้น ความหายนะ ความเสียหาย สูญสิ้นความเจริญ หมดสิ้นความดี ความย่อยยับ
    • อุบาทว์ หมายถึง สิ่งชั่วร้าย อัปมงคล เคราะห์ร้าย ความด่างพร้อย ไม่บริสุทธิ์ อุบัติเหตุ อับปรีย์จัญไร สิ่งที่ไม่เป็นมงคล สิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิด

     

    Miscellaneous/Others

    • อธิกมาส เดือนซ้ำ มีเดือน 8 สองครั้ง
    • อธิกวาร เดือนที่มีแรม 15 ค่ำ ในเดือน 7
    • อธิกสุรทิน เดือนที่มีวันเพิ่ม กุมภาพันธ์มี 29 วัน
    • ปกติมาส ปกวาร ปกติสุรทิน หมายถึงปีที่ไม่มีเดือน วัน วาร  เพิ่ม
    • วันเถลิงศก วันที่สามของดวงอาทิตย์ที่โคจรพ้นขอบราศีมีน ก้าวเข้าสู่ราศีเมษเต็มดวง เป็นวันขึ้นศักราชใหม่
    • วันพระยาวัน วันที่พ้นจากอันตราย  ขึ้นรอบศักราชใหม่ได้เต็มที่ ดวงอาทิตย์โคจรเข้าสู่ราศีมูลธาตุ เป็นวันเริ่มทำการมงคล
    • วันปูรณมี วันที่ดาวจันทร์เข้าสู่จุดเพ็ญ วันขึ้น 15 ค่ำ  วันที่พระจันทร์เต็มดวง
    • วันกาฬปักษ์ วันที่จันทร์อยู่ข้างแรมตั้งแต่แรม 1 ค่ำถึงวันแรม 14 หรือ 15 ค่ำ
    • วันชุนหปักษ์ วันที่ดาวจันทร์สว่างอยู่บนท้องฟ้า เป็นดวงจันทร์ข้างขึ้น ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำถึงขึ้น 15 ค่ำ
    • ลัคนา คือจุดอุทัยทางขอบฟ้า ด้านทิศตะวันออก ในขณะเกิดของเจ้าชะตา เรียกว่า อุทัยลัคนา
    • วิสมคติ วิถีโคจรวิปริต ผิดปกติธรรมดาของดวงดาว เป็นศัพท์โหรทางภารตะ ไทยนำมาใช้ในการเดินผิดปกติ ของดวงดาว เป็น พักร์ มณฑ์ เสริด พักร์ คือ ดาวโคจรถอยหลังมณฑ์ คือ การเดินช้าของดาวเคราะห์ หรือการหมุน อยู่กับที่เสริด คือการโคจรเร็วของดาวเคราะห์
    • วรรษผล ดวงชะตาประจำปี เป็นดวงชะตาอีกแบบหนึ่ง  เป็นตำราทางอินเดีย ใช้พยากรณ์ดวงชะาตลอดปี  อายุย่างเข้าปีนั้นๆ เช่น อายุเต็ม 25 ปี อายุย่าง 26 ปี
    • กาลกิณี หมายถึง จุดวิบัติ จุดเสื่อม อุปสรรค ศัตรู ความอาภัพ ความเศร้าโศก การล่มจม ความอัปมงคล  และเหตุที่ไม่ดีทั้งปวง
    • ศูนยพาหะ แปลว่า ผู้พาไป ผู้นำไป เป็นพระเคราะห์ที่นำหน้าลัคนา 1 ราศี
    • ธรณีโชค หมายถึงโชคดีบนพื้นดิน หากบุคคลใดจะมีโชคดีบนพื้นดินชนิดใดก็สุดแต่ดวงชะตากำเนิดของผู้นั้น
    • วันทัคธทิน วันที่ไฟจะไหม้
    • วันลอย เป็นวันเหมาะแก่ การเริ่มต้นกิจการงาน และการมงคล
    • วันฟู เป็นวันเหมาะแก่ วันที่ทำกิจการ การงาน การทำมาหากินและการอาชีพต่างๆ ของคนไทยในอดีต ซึ่งรวมถึงการทำการมงคลในเรื่องที่เกี่ยวด้วย
    • วันจม เป็นวันห้ามทำการมงคล ริ่เริ่มใหม่ ให้ทำแต่กิจการที่ทำอยู่หรือทำในเรื่องเล็กน้อย เพราะมักจะมีอุปสรรค เหตุขัดข้องเกิดขึ้น
    • วันปลอด ให้ผลเป็นกลาง ทำการมงคลได้
    • สกุณฤกษ์ หมายถึง ฤกษ์ที่แสดงเป็นนิมิตดีแก่เจ้างาน
    • ดิถีฤกษ์ไชย เป็นการหาฤกษ์ใช้กับการเดินทางไกล หรือฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่
    • จัตุรงคโชค คือการคำนวณสอบดวงฤกษ์
    • มหัทธกรรมโกลาฤกษ์ เป็นเกร็ดสำคัญในการให้ฤกษ์
    • ฤกษ์ล่าง คือฤกษ์ที่กล่าวด้วยกฎเกณฑ์ย่อย ๆ
    • ฤกษ์บน คือฤกษ์ที่กล่าวถึงการโคจรของพระจันทร์ และดวงดาวต่างๆ บนท้องฟ้า
    • ดวงวรรษจักรา คือเมื่อครบรอบวันเกิด ดาวอาทิตย์โคจรมาทับอาทิตย์เดิมองศาสนิทในวันใดและเวลาใดก็เอา ดวงชาตะของวันนั้นมาผูกขึ้นและเอาเวลาที่ทับกันสนิทนั้นวางลัคนาขึ้น กลายเป็นดวงใหม่
    • ดวงนวางค์จักร คือดวงดาวเคราะห์แต่ละดวงที่สถิตอยู่ในนวางค์ราศีจักร
    • นวางค์อุจ คือดาวที่เข้าเป็นอุจในราศีใดๆ ก็ตามโคจรเจ้าไปอยู่ในนวางค์แรกที่ดาวเกษตรเจ้าเรือนครอบครองเป็นเจ้านวางค์
    • โคตรนวางค์ คือนวางค์ที่เป็นต้นตระกูลของนวางค์ทั้ง 9 ในราศีนั้นๆ  โดยการเป็นนวางค์ที่มีดาวเคราะห์เกษตรเป็นเจ้า  ครองนวางค์อยู่ในราศีที่ตรงกับเกษตรในราศีนั้นๆ   เรียกว่า โคตรนวางค์ หรือวรโคตรนวางค์
    • กาลจักร หมายถึงเวลาที่เวียนไปตามรูปวงกลมทางโหราศาสตร์นั้น  ได้แก่จักรราศี
    • กาลจักร ลัคน์จร หมายถึง ลัคนาจรไปในราศีต่างๆ  ตามเกณฑ์ของกาลจักร
    • สวเกษตร ก็คือพระเคราะห์ที่สถิตเรือนตนเอง ซึ่งก็ได้แก่ พระเคราะห์เกษตรนั่นเอง
    • พินทุบาทว์ คือดวงชะตาที่ให้ผลในทางร้าย ทางเสีย ทางเสื่อม หดชั่วไม่ดี ดวงบอด
    • คชเกสรีโยค คือดาวจันทร์ทำมุมเป็น 1,4,7,10 ต่อพฤหัสบดี   ดวงชะตาที่ได้คชเกสรีโยค มักจะกล้าเสี่ยง มีอำนาจวาสนา ตระกูลสูงอยู่แล้ว ก็จะทำให้ดวงสูง เด่นดีขึ้นกว่าเดิม มีกำลังบารมีแก่กล้า เสริมบารมีให้ดีขึ้น
    • อธิโยค คือมีดาวศุภเคราะห์อยู่ในภพที่ 6,7,8 แก่จันทร์ คือมุมตรงข้ามกับจันทร์ และส่งมุมปลายหอกมายังจันทร์  ท่านว่าให้คุณ แก่จันทร์อย่างใหญ่หลวง
    • ราศี คือ ส่วนแบ่งบนทรงกลมท้องฟ้ามี 12 ส่วน ส่วนละ 30 องศา เรียกว่า 12 ราศี เป็น 1 จักราศี เท่ากับ 360 องศา
    • สัปต์เกณฑ์ต่อกัน คือ เล็งกัน
    • ลัคนาธิปติ คือ เจ้าเรือนลัคนา
    • ฤกษ์ หมายถึง คราว หรือเวลาซึ่งเหมาะเป็นชัยมงคล
    • จักรพยากรณ์ จักร แปลว่า วงกลม พยากรณ์ แปลว่า การทาย  รวมความคือ การทำนายด้วยดวงชาตา
    • พญาวัน ได้แก่วันในสัปดาห์ที่ขึ้นเถลิงศก เปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ถือว่า เป็นวันที่ใหญ่ยิ่งของปีนั้น
    • วันอธิบดี ความหมายแห่งวันอธิบดี หมายถึง เป็นวันใหญ่ที่จะเข้าทำการปกครอง ควบคุมดูแลองค์กรหรือ  หมู่คณะต่างๆ ประกอบด้วย โชคดี มีอำนาจในทางเจริญ ในกาลมงคล เช่น แต่งงาน

     


    Credits

  • MyHora.com
  • ฤกษ์แต่งงาน http://www.weddingsquare.com/forum_posts.asp?TID=134865
  •