Friday, July 31, 2009

Twitter as alternative IM

Twitter เป็น free micro-blogging service (http://en.wikipedia.org/wiki/Twitter). คุณสามารถ post ข้อความได้ข้อความละ 140 ตัวอักษรซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ SMS ในโทรศัพท์มือถือ แต่ต่างออกมาในส่วนของความเป็น social networking ซึ่งไม่ได้เป็นการสื่อสารทีละบุคคล (คุณส่งข้อความ SMS ไปให้หลายคน ก็คือการส่งทีละข้อความไปหาแต่ละคน) กล่าวคือ
  • คุณสามารถเปิดให้ตนเองแลกเปลี่ยนข่าวสารกับเครือข่ายสาธารณะ (public, ไม่กำหนดบุคคล)
  • หรือกำหนดให้ตนเองสื่อสารเฉพาะในเครือข่ายของตนเอง (followers คือกลุ่มบุคคลที่สมัครมาเข้าเครือข่ายของคุณ)
  • หรือส่งข้อความโดยกำหนดเฉพาะบุคคล ทั้งแบบส่วนตัวโดยตรง (direct message) หรือกึ่งส่วนตัว (replies/mentions)

ทีนี้ถ้าคุณใช้ IM (instant messaging service) อยู่ การมี Twitter อาจเป็นทางเลือกหรือตัวเสริมให้คุณได้ดังนี้
  • Twitter ไม่ต้องรอให้ผู้รับ online. Follower สามารถเข้ามาอ่านทีหลังได้.
  • การ post ข้อความปกติบน Twitter เปรียบเสมือนการ broadcast ให้เครือข่าย followers ของคุณทั้งหมด. อันนี้เหมาะมากถ้าคุณตั้ง Twitter account สำหรับงานประชาสัมพันธ์, รายงานข่าว, update ข้อมูลสินค้า/บริการที่คุณดูแลอยู่.
  • คุณยังคงมี option ในการ post ข้อความแบบระบุเฉพาะบุคคล (follower คนอื่นไม่เห็นข้อความนั้น)
  • คุณสามารถลบ tweet ที่คุณส่งไปแล้วได้ (ต่างจาก SMS, email หรือ IM ปัจจุบันที่ส่งแล้วส่งเลย) เพราะว่าโดยหลักการออกแบบของ Twitter จริงๆ ไม่ใช่การ send แต่เป็น share.

ขั้นตอนการสมัคร/ติดตั้งระบบ

  • สมัคร account โดยเข้าไปที่ http://twitter.com, สิ่งที่คุณต้องใช้ในการสมัคร(เพื่อยืนยันตัวคุณ)คือ email address ของคุณเอง. Warning: คุณไม่จำเป็นต้อง(และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะ)ใช้ passward เดิมของ email address คุณในการสมัคร Twitter account (นี่เป็นหลักปฏิบัติในการใช้ web technology ในยุคนี้เพื่อสนับสนุนความปลอดภัยทางข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเอง)
  • เมื่อระบบตรวจสอบ email address และคุณเลือกชื่อ account ได้แล้ว ระบบจะมี email ขอยืนยันไปที่ email address ตามที่คุณระบุไว้.
  • โดยพื้นฐานคุณสามารถใช้งานโดย login เข้า account ของคุณใน twitter.com ได้เลย แต่ถ้าต้องการความคล่องตัวทำนองเดียวกับ IM คุณก็สามารถติดตั้ง web-browser extension ได้

สิ่งที่คุณควรกำหนดก่อนเลยใน account ของคุณ
  • ตัดสิน ใจว่า account ของคุณควรจะเป็น public หรือ private. อันนี้แนะนำว่าขึ้นอยู่กับข้อมูลที่คุณรับส่งกันเป็นแบบไหน. สมมุติว่าถ้าคุณเป็นนักข่าวหรือนักการตลาด/ประชาสัมพันธ์ การเปิดเป็น public ก็ทำให้คุณสามารถกระจายข่าวหรือแลกเปลี่ยนข่าวสารได้อย่างกว้างขวาง เป็นต้น.
  • กำหนดรูปของคุณ มันช่วยได้มากเวลาที่คุณอ่านข้อความที่คุณรับส่งกันในเครือข่ายว่าใคร post ข้อความอะไรอยู่ตอนไหน.

โปรแกรมเสริมถ้าคุณไม่อยากใช้งานโดยต้องเข้าไปใน twitter.com web page
ที่แนะนำให้ตอนนี้คือ
  • ถ้าคุณใช้ iGoogle: BeTwittered (http://www.32hours.com/)
  • ถ้าคุณใช้ Firefox web browser: TwitterFox (http://www.twitterfox.net/, https://addons.mozilla.org/en-US/firefox/addon/5081)
  • ถ้าคุณใช้ Opera web browser: http://widgets.opera.com/widget/7206/
  • ถ้าคุณไม่อยากใช้ web browser: Twhirl (http://www.twhirl.org/ -- โปรแกรมติดตั้งบน PC)
  • หรือถ้าคุณอยากรวมมิตร (รวม IM ด้วย): Digsby (http://www.digsby.com/)

----
(Coming later: กิจวัตรใน Twitter)

Monday, July 27, 2009

Foot care center: ศูนย์ดูแลสุขภาพเท้า รพ.ตากสิน

Source: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

หัวข้อข่าว :. รองผู้ว่าฯ กทม. ระบุ ศูนย์ดูแลสุขภาพเท้า ที่ รพ.ตากสิน จะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องตัดเท้าได้มากถึงร้อยละ 40

แพทย์หญิงมาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงการเปิดศูนย์ดูแลสุขภาพเท้า ที่โรงพยาบาลตากสิน ว่า จากจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคาดการณ์ว่าปี 2553 จะมีผู้ป่วยเบาหวานถึง 2 ล้าน 1 แสนคน และจะมีผู้ถูกตัดเท้าถึง 27,300 คน เฉลี่ยจะมีผู้ถูกตัดเท้า 3 – 4 คนต่อวัน ประกอบกับคนที่มีเท้าผิดรูปร่างเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ ผู้มีน้ำหนักเกิน หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้สูงอายุ ที่เท้าสูญเสียไขมันซึ่งมีหน้าที่รองรับน้ำหนักไป ทำให้เท้าเฉผิดรูป ซึ่งจากการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง หากผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาเท้าที่ถูกวิธี ร่วมกับการใช้ความรู้ทางชีวกลศาสตร์ในการช่วยลดแรงกดเท้า และเลือกรองเท้าที่เหมาะสม จะช่วยลดอัตราการถูกตัดเท้าได้ร้อยละ 40 - 80 ดังนั้นทางโรงพยาบาลตากสินจึงได้ดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถดำเนินการจัดตั้งศูนย์ดูแลสุขภาพเท้าแบบครบวงจร ภายในศูนย์เบาหวาน ในช่วงเดือนกรกฎาคม โดยมุ่งลดการตัดนิ้วเท้า ขา ในผู้ป่วยเบาหวาน รวมถึงป้องกันฟื้นฟูสุขเท้าแบบครบวงจรแก่กลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป ทั้งนี้การให้บริการจะครอบคลุมตั้งแต่ปัญหาตาปลา เล็บขบ เล็บติดเชื้อรา อุ้งเท้าผิดปกติ จนถึงให้บริการตัดรองเท้าและอุปกรณ์เสริมต่างๆ แก่ผู้มีปัญหารุนแรง

แพทย์หญิงมาลินี กล่าวอีกว่า เท้าเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก เพราะเพียงแค่เท้าผิดรูปเล็กน้อย จะส่งผลต่อบุคลิกภาพของเราโดยตรง ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามทุกปัญหาที่เกิดขึ้นกับเท้า และต้องใส่ใจดูแลรักษาความสะอาดของเท้าให้เท่ากับอวัยวะส่วนอื่นด้วย

Sunday, July 12, 2009

Immunokine (WF10) วิธีใหม่ในการรักษาแผลที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

มศว เจ๋ง! ค้นพบวิธีดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานมีแผลเรื้อรังได้สำเร็จรายแรกของโลก

มศว ค้นพบวิธีดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นแผลเรื้อรังที่เท้าได้สำเร็จครั้งแรกของโลก โดยผู้ป่วยไม่ต้องสูญเสียนิ้วเท้า-ขา เผยประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องตัดนิ้วเท้า ตัดเท้า ตัดขาเกือบ 40,000 คนต่อปี

ผศ.นพ. ณรงค์ชัย ยิ่งศักดิ์มงคล แพทย์ศัลยกรรมทั่วไป ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่องวิธีใหม่ในการรักษาแผลที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบา หวาน กล่าวถึงความสำเร็จที่ค้นพบวิธีรักษาแผลที่เรื้อรังที่เท้าผู้ป่วยโรคเบา หวาน โดยไม่ต้องสูญเสียนิ้วเท้าหรือขา ว่า ด้วย การใช้ยา IMMUNOKINE หรือ WF 10 ผสมในน้ำเกลือฉีดเข้าสู่เส้นเลือดภายใน 4 – 6 ชั่วโมง โดยฉีดวันละครั้ง ติดต่อกัน1 คอร์ส ซึ่งใช้เวลา 5 วัน จากนั้นจะดูผลประมาณ 1 สัปดาห์ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นก็ให้ยาเป็นคอร์สที่ 2 อาการจะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยบางรายใช้ยาคอร์สเดียวก็จะมีอาการดีขึ้น บางรายอาจจะต้องใช้ถึง 2 คอร์ส อาการดีขึ้นของผู้ป่วยจะเริ่มจากภาวการณ์อักเสบดีขึ้น ภาวะเนื้อที่ตายเริ่มดีขึ้น มีที่งอกขึ้นเนื้อใหม่เพิ่มขึ้น

สำหรับ จุดเด่นของการให้ยา IMMUNOKINE หรือ WF 10 ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นแผลเรื้อรัง เมื่อให้ยาผู้ป่วยไปสู่เนื้อเยื้อตัวยาจะแตกตัวเป็นออกซิเจน ซึ่งออกซิเจนจะไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาวที่อยู่บริเวณบาดแผล เริ่มเข็งแรงขึ้น เมื่อเม็ดเลือดขาวบริเวณแผลแข็งแรงขึ้น มันก็เก็บกินเชื้อโรคและเนื้อที่ตาย จึงทำให้แผลเริ่มหายอาการอักเสบติดเชื้อมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ตัวยาดังกล่าวยังไปกระตุ้นเซลล์ที่สร้างหลอดเลือดและกระตุ้นเซลล์ที่สร้าง เนื้อเยื่อ แผลที่ลึกๆ ก็จะตื้นขึ้น มีเนื้อแดงงอกขึ้นมาใหม่แผลจะค่อยๆ หายภายใน 2 เดือน

ผศ.นพ.ณรงค์ชัย กล่าวอีกว่า แม้ยา IMMUNOKINE หรือ WF 10 จะเป็นยานำเข้ามาจากประเทศเยอรมนี ซึ่งหลายคนอาจจะกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย แต่เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วยต้องเดินทางไปทำแผลทุกวัน เป็นเดือนเป็นปี ล้วนแล้วแต่เป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น บางคนต้องหยุดงาน ญาติพี่น้องต้องพาไปรักษา และยังต้องซื้อยาชนิดอื่นๆ มารักษา และถ้าอาการไม่ดีขึ้น แพทย์ก็จะตัดสินใจตัดอวัยวะส่วนที่เป็นแผลออก ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไข้กลัวและมีความทุกข์มาก แต่ถ้าใช้วิธีรักษาโดยการให้ยา IMMUNOKINE หรือ WF 10 ผู้ป่วยจะใช้จ่าย 20,000 บาทต่อ 1 คอร์ส ส่วนผลข้างเคียงเมื่อใช้ยา IMMUNOKINE หรือ WF 10 อาจจะมีภาวะเลือดจางบ้างเล็กน้อย

งาน วิจัยชิ้นถือเป็นงานวิจัยชิ้นแรกของโลก เพราะยังไม่มีการทำวิจัยโดยนำยาชนิดนี้มารักษาแผลเรื้อรังที่เกิดจากโรคเบา หวาน โดยปกติยา IMMUNOKINE หรือ WF 10 จะนำไปใช้ในผู้ป่วยที่เกิดอาการอักเสบเรื้อรังในผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรค มะเร็งและทำการฉายแสง ในปัจจุบันมีการนำตัวยา IMMUNOKINE หรือ WF 10 ไปใช้ร่วมกับเคมีบำบัดในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งตับอ่อน และมะเร็งต่อมลูกหมาก

ส่วนผู้ป่วยโรค เบาหวานท่านใดสนใจ และต้องการรักษาด้วยวิธีการใช้ยา IMMUNOKINE หรือ WF 10 สามารถติดต่อมาได้ที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โทร.037-395-085-6 ต่อ 11215 ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 4 ล้านคน ผู้ป่วยจำนวนมากรักษาแผลเป็นปี ๆ ยังไม่หายสุดท้ายต้องตัดนิ้วเท้า นิ้วมือและถ้าแผลลามไปเรื่อยๆ ก็ต้องตัดไปเรื่อยๆ ในเมืองไทยปีหนึ่งๆ มีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องตัดนิ้วเท้า ตัดเท้า ตัดขาเกือบ 40,000 คน

ที่มา : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000078278